นักจัดซื้อ กับการนำเข้า (Import)

 


                                 นักจัดซื้อ กับการนำเข้า (Import)

นักจัดซื้อ ที่เพิ่งมาเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการทั่วไปก็ด้วย มักจะเข้าใจว่า การซื้อของจากต่างประเทศ คือ การนำเข้า

ผมจึงได้รับคำถาม จากผู้ที่จะมาลงเรียนในห้องเรียนของผม เกี่ยวกับ “การนำเข้า” บ่อยๆ แต่ก็ไม่ผิดหรอกครับ เพราะโดยความเข้าใจของคนทั่วไปแล้ว การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ก็ต้องมี “การนำเข้า” มาในประเทศ เลยเกิดความคิดแบบรวบยอดว่า มันคือ “การนำเข้า”

แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมขอให้ข้อมูลดังนี้ครับ

ถ้าเราพูดถึงงานของ “นักจัดซื้อต่างประเทศ” ที่เราเรียกว่า Oversea Purchaser ก็คือ การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มันจะสื่อถึง “หน้าที่” ของตำแหน่งงานนั้น

ส่วนการนำเข้า หรือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ ที่เราเรียกว่า Import มันจะสื่อถึง   ”กระบวนการ” ในการทำงาน พูดได้ว่า “การนำเข้า” เป็นกระบวนการหนึ่งใน การจัดซื้อต่างประเทศ!

คราวนี้มาเข้าเรื่องกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ นักจัดซื้อต่างประเทศ และผู้ประกอบการทั่วไป มักจะไม่มีความเข้าใจในเรื่องกระบวน ”การนำเข้า”

ส่วนงานการจัดซื้อต่างประเทศนั้น สามารถปรึกษาหัวหน้างาน หรือ ผู้จัดการได้ จึงไม่ได้เป็นปัญหาสักเท่าไหร่

เพื่อให้เข้าใจ ปัญหานี้ให้มากขึ้น ขออธิบายแต่ละประเด็น ดังนี้

 > การจัดซื้อต่างประเทศ ก็คือ กระบวนการจัดซื้อ + การทำธุรกิจระหว่างประเทศ (และการนำเข้า ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ)

 > การนำเข้า เราอาจเต็มๆว่า พิธีการทางศุลกากร ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมศุลกากร ในการควบคุม ดูแล การนำเข้าและส่งออก รวมถึงมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีขาเข้าด้วย (ที่ว่าอาจ เพราะว่า “การนำเข้า” มันยังมีเรื่องของ การท่า และบริษัทฯ ที่ให้บริการการขนส่งระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็ถือว่า เอามาใช้ในการสื่อสารได้)

ทำไมผมถึงบอกว่า การนำเข้า เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจระหว่างประเทศ จริงแล้วกรมศุลกากรของทุกประเทศ จะดำเนินการภายใต้กฎระเบียบของตัวเอง แต่เมื่อปี 1974 นั้นองค์กรศุลกากรโลก ที่มีภาคีสมาชิกถึง 63 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงขึ้นมา ที่เรียกว่า อนุสัญญาเกียวโต เพื่อให้การดำเนินการของศุลกากรของแต่ละประเทศเป็นมาตรฐานขึ้นมา จะเห็นได้ว่า การนำเข้า นั้นมีรูปแบบที่เป็นสากล จึงเรียกได้ว่ามันก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจระหว่างประเทศ

 ref : บทบาทของกรมศุลกากรกับการค้าระหว่างประเทศ โดย กฤติกา ปั้นประเสริฐ

เมื่อเราเข้าใจความหมายของ “การนำเข้า” ซึ่งมันก็คือ “กระบวนการ” ในการดำเนินการพิธีการทางศุลกากรนั้นเอง 

ผู้ที่มาลงเรียนใน Classroom ของผมในเรื่องนักจัดซื้อ..ต่างประเทศ ผมจะบอกว่า ผมจะสอนเน้นไปเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ ส่วนเรื่องการนำเข้า ผมจะไม่เน้นมาก เพราะอย่างไร ผู้เรียนก็ต้องไปใช้บริการกับบริษัท Shipping อยู่แล้ว

แต่เมื่อมีผู้สอบถามมามากในเรื่อง ”การนำเข้า” ผมก็เลยคิดว่า จะต้องทำห้องเรียนนี้เพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อแนะนำเรื่อง ”การนำเข้า” โดยจะเน้นไปที่งานในส่วนของ “พิธีการทางศุลกากร”

แต่อย่างไร ในบทความนี้ ผมก็จะให้หลักการเบื้องต้น เพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องการนำเข้าได้พอเป็นแนวทางครับ

1.กระบวนการนำเข้า จะมีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลักอยู่ 4 ฝ่าย ได้แก่ 1. Importer 2. Custom Broker (Shipping)        3. Transportation Company 4. Customs Department ซึ่งท่านจะต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อจะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างถูกต้อง

2. การเป็นผู้นำเข้า ที่เราเรียกว่า Importer นั้น จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกรมศุลกากร ซึ่งถือเป็นระเบียบในการปฏิบัติงานของกรมศุลกากร จะผู้นำเข้าจะได้รับ หมายเลขประจำตัว ที่ใช้การดำเนินการพิธีการศุลกากร (สมัยก่อนเขาจะเรียกกันว่าบัตรลายเซ็น)

3. การนำเข้า จะต้องทำการสำแดงการนำเข้า โดยใช้เอกสารที่เรียกว่า ใบขนขาเข้า (Import Entry) ซึ่งเป็นเอกสารของกรมศุลกากร โดยผู้นำเข้า (Importer) จะต้องเป็นผู้จัดทำ และยื่นต่อกรมศุลกากร  

4. การทำเอกสาร ใบขนขาเข้า ส่วนใหญ่แล้ว เราจะจ้างให้บริษัท shipping เป็นผู้จัดทำให้กับเรา แต่ถ้าอยากรู้รายละเอียดในใบขนขาเข้า ผมก็จะแนะนำให้เชิญ shipping เขามาสอนคุณที่ทำงานเลย

5.ปัจจุบันนี้สามารถ การยื่นใบขน สามารถดำเนินการผ่านระบบอีเลกโทรนิค และที่กรมศุลกากรใช้อยู่ เรียกว่าระบบ E-custom

หมายเหตุ : บริษัทฯ shipping หลายๆบริษัทฯ มักจะบ่นกับผมว่า ผู้ประกอบการที่สนใจอยากจะนำเข้า/ส่งออก มักจะโทรเข้ามาถาม เพื่อจะใช้บริการ แต่มักคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง และจบลงด้วยคำพูดที่ว่า ถ้ามีสินค้าพร้อมแล้วแจ้งมานะครับ ! (คนจะนำเข้า/ส่งออก ยังไม่รู้เรื่องเลย แล้วจะจบงานกันอย่างไรล่ะ)

นี้ก็เป็นความรู้เบื้องต้น ที่จะต้องรู้เกี่ยวกับ การนำเข้า หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่อยู่ในวงการจัดซื้อนะครับ

Cr : อ.อนันต์ วชิราวุฒิชัย Tangram Strategic Consultant   

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------สำหรับผู้ที่สนใจ อยากจะเข้าการอบรมใน class เรื่องการนำเข้า ก็ดูรายละเอียด ได้ที่ :

เจาะลึกการนำเข้า (Deep Import) : https://tangramtib.blogspot.com/2021/10/deep-import.html

   

Comments

Popular posts from this blog

นักจัดซื้อทำไมต้องเป็น..มืออาชีพ ! (Professionalism)

เราคือ ผู้สนับสนุน (We are supporter)